第11回:Merrill Swain's Comprehensible Output (CO)

エミリーです!

続いて、เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Comprehensible Output Hypothesis กันค่ะ
เห็นในห้องหลายคนอ่านไป แล้วยอมแพ้ในความมีเท็กซ์ภาษาอังกฤษเยอะ เลยลองมาแปลเป็นภาษาไทยสไตล์エミリー語ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ^^

ยาวหน่อย แต่อ่านนะคะ 〜
Merrill Swain

ทฤษฎีนี้คิดค้นขึ้นโดย Merrill Swain เกี่ยวกับ Comprehensible Output ว่า
มันเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตภาษาที่ออกมาจากผู้เรียนภาษาที่2 ซึ่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนเจอgapขณะเรียนภาษาที่2นั้นๆอยู่ แล้วตระหนัก และอาจจะปรับปรุงoutputได้ ในขณะที่เกิดการเรียนรู้ใหม่นั้นขึ้น

ตามคำกล่าวของ Swain นั้น Comprehensible Output จะประกอบไปด้วย 3 ฟังก์ชั่น คือ
1. The noticing คือการตระหนักว่า เออ เราไม่สามารถทำoutputในการพูดหรือเขียน ให้สื่อความหมายที่ตนอยากสื่อได้(ด้วยภาษาที่2ที่ตนกำลังเรียนรู้อยู่)
2. The Hypothesis-Testing function คือการลองผิดลองถูก คือลองใช้ภาษาว่าใช้แบบนี้ได้หรือไม่ โดยอาศัยการเรียนว่าถูกหรือไม่ จากการรีบฟีดแบ็กจากคนอื่นๆ โดยเฉพาะบุคคลที่3(Interlocutor)คือบุคคลที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในการสนทนาหรือการรับส่งสารโดยตรง เช่น คุยกับผู้เรียนภาษาด้วยกัน แล้วจะมีครู(interlocutor)มาแก้ภาษาให้ หรือให้ฟีดแบ็ก
3. The metalinguistic คือการนำตัวเองออกมาฐานะผู้เรียน มาดูการใช้ภาษาของตัวเองแบบพระเจ้า ตัดpoint of viewของตัวเองทิ้งอะ (เขียนเองเข้าใจเอง555) ก็คล้ายๆการอัดเสียงแล้วมาถอดเทปดูความพังของการใช้ภาษากระมัง แล้วก็ไปจัดการจัดแจงระบบความรู้ภาษาที่2ของตัวเองในหัวอีกที

ซึ่งSwain ก็ยังกล่าวถึงทฤษฎี Comprehensible Output ว่า เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษา(ที่2) ตอนที่เราพยายามจะส่งสาร แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ (กล่าวคือสื่อสารไม่ได้อย่างที่ใจต้องการจะสื่อ) แล้วพอเมื่อเราปรับแก้ภาษาของเราให้ถูกต้อง และคู่สนทนาเข้าใจว่าจะสื่ออะไรได้แล้ว เราเองก็จะเกิดการเรียนรู้รูปแบบโครงสร้างภาษาแบบใหม่นั่นเองค่ะ

แต่..ทฤษฎีนี้ไม่ได้มีผลต่อความสามารถทางภาษาของเรานะคะ ทฤษฎีนี้เป็นแค่เครื่องมือในการเรียนรู้อย่างหนึ่งเท่านั้นค่ะ และบางครั้ง Output ก็มีส่วนช่วยในการเรียนรู้ภาษาที่2คนละแบบกับ Input นะ!

การฝึกฝนทางภาษาที่2อย่างสม่ำเสมอก็มีส่วนช่วยให้ผู้เรียนตระหนักรู้ถึงผลผลิตทางภาษา(กล่าวคือoutputของตัวเอง)มากขึ้นค่ะ แล้วก็ช่วยส่งเสริมการเรียนภาษาที่2จากการเรียนรู้จากโครงสร้างระดับความหมาย เป็นการเรียนรู้ที่เข้าใจถึงระดับโครงสร้างไวยากรณ์ เพื่อการผลิตภาษาที่แม่นยำมากยิ่งขึ้นค่ะ

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากๆเลยคือ Feedback และ Interaction ที่สามารถทำให้ผู้เรียนภาษาที่ 2 นั้น  เกิดการเรียนรู้ที่ดี แม่นยำ และสามารถพัฒนาความสามารถทางภาษาที่ 2 ของตนไปสู่ระดับที่สูงขึ้นได้ค่ะ

พบกันใหม่เอนทรี่หน้านะคะ


コメント

  1. มีภาพของ Swain ด้วยอ่ะ สุดยอด อ.เขาดูใจดีมากเลยนะคะ

    返信削除
    返信
    1. ตอนแรกนึกว่าSwainจะดูวิชาการ เครียดๆกว่านี้ค่ะ แต่ดูใจดีตามที่อาจารย์บอกจริงๆค่ะ

      削除
  2. 頭の図がおもしろいなと思いました。
    語学ができるとかできないとか、上達が早いとか遅いとか、いろーいろ言いますが、こうやって整理してもらったのをみると、そんなものかなーと思います。
    自分の頭の中のぞいてみたくなりますね。のぞいても見えないか。。。

    返信削除
    返信
    1. 返事が今更ですが、すみません。
      そうですね。頭の働き方がすっごく知りたいですよ、私も。
      結構物理的になっちゃいますが、のぞいて見えれば、自分が言語のダメな勉強し方をすぐなおせばいいなーと思います笑

      削除
    2. こんなに日本語が使いこなせて、英語や韓国語も勉強しているのに、言語がダメだって思うんですか?

      削除
    3. 自分が考えた通りそんなにOutputできないところだと思います。この前、韓国語検定5級とりましたが、作文(つまりOutput)の点数がめちゃくちゃ低いなんですよ。もっと頑張りたいなーって感じです…

      削除
  3. อืม เรื่องนี้ตอนแรกเราก็งงๆอยู่นะ พอมาอ่านบล็อคนี้ละช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นอีกเยอะเลย

    จริงๆอ่านหลายอันแล้ว สรุปได้ดีครับ

    返信削除
    返信
    1. ขอบคุณที่เข้ามาคอมเม้นนะ ถ้าเขียนแล้วมีคนอ่านแล้วมาชมบ้างอย่างนี้ ก็รู้สึกว่า甲斐がある!

      削除
  4. อ่านสไลด์ภาษาอังกฤษแล้วมีช่วงที่ไม่เข้าใจนิดหน่อย เข้ามาอ่านบล็อกพี่แล้วเข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ
    ขอบคุณที่ช่วยสรุปมาให้นะคะ ><

    返信削除
    返信
    1. ยินดีจ้าาา สอบพรุ่งนี้แล้ว ห้าๆ สู้ๆนะ

      削除

コメントを投稿

このブログの人気の投稿

Homeworkあいづち+สิ่งทีคิดได้ยามป่วย(เป็นโรคกระเพาะ)

イントロ&エントリーNo.①:ゲゲゲの女房