第9回:Implicit vs Explicit, IL, 良い描写とは?

สวัสดีค่ะ こんばんは。エミリーです。

ตอน8หายไปไหน คือความจริงแล้วมันรวบยอดไปกับตอน7แล้วนะคะ5555

ต่อยอดจากกระบวนการเรียนรู้ Input->Intake->Output จากคราวที่แล้วนะคะ

เราก็จะมาดูว่าเจ้ากระบวนการ Intake ซึ่งเป็นกระบวนการตรงกลางในการเรียนรู้ของเราเนี่ยมันทำกันอย่างไรบ้าง

จากภาพจะเห็นอยู่ 2 คำที่เป็นKeyword ของสัปดาห์นี้เลยก็คือ "DEVELOPING IL SYSTEM" และ "IMPLICIT KNOWLEDGE"

แล้ว 2 คำนี้มันคืออะไรกันล่ะ?...

IL SYSTEM -> InterLanguage (中間言語)คือภาษาที่อยู่ใน(กระบวนการ)ตรงกลางระหว่างภาษาแม่(母語) เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้ภาษาที่2ซึ่งเป็นภาษาเป้าหมายของเรา(目標言語)ในการเรียนค่ะ ซึ่งภาษาตรงกลางของเราเนี่ย มันก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆปรับความเข้มความอ่อนได้ สมมติว่าถ้าเราศึกษามันเยอะๆ อยู่กับเจ้าของภาษาที่2ที่เราเรียนเยอะๆ เจ้าInterLanguageของเรา(หรือระดับความสามารถทางภาษา หรือ ความเป๊ะของภาษาต่างประเทศนั้นๆของเรา)มันก็จะขยับไปอยู่ใกล้ภาษาที่2ที่เป็น目標言語มากขึ้น ถ้าเราไม่ได้ใช้มันนานๆ มันก็อาจจะขยับกลับไปอยู่ใกล้ๆภาษาแม่ของเรามากกว่าได้นั่นเองค่ะ

ส่วนImplicit Knowledge(暗示的知識)และ Explicit Knowledge(明示的知識)คืออะไร?

สรุปง่ายๆคือ Implicit Knowledge คือ การเรียนรู้แบบเห็นตัวอย่างเยอะๆแล้วเราคาดเดาเอาเองจากตัวอย่างนั้นๆ ไม่มีใครมาบอก มาชี้ให้ชัดเจน เช่น x เรียกว่า ringo นะ แต่เราเห็นคนถือผลไม้เปลือกสีแดงมันๆ ข้างในมีเนื้อสีขาวเหลืองนวล มีเมล็ดเล็กๆสีดำ (ผลไม้x)แล้วเดาเอาว่ามันเรียกว่า ringo
ต่างกับ Explicit Knowledge ตรงที่ Explicit Knowledgeจะมีคนถือเจ้าผลไม้เปลือกสีแดงมันๆนี้มา แล้วมาบอกเราเลยว่า นี่นะ ผลไม้  x เรียกว่า ringo นั่นเองค่ะ

ซึ่งการจะเปลี่ยนIntake ให้เป็น Output ได้นั้น ต้องอาศัยการทำซ้ำ(Repetition)และการฝึกฝนฝึกซ้อม(Rehearsal)ด้วย ซึ่งRehearsalที่ดีของKnowledgeทั้ง2อย่างนั้นก็คือ
Implicit Knowledge ต้องมี Maintenance Rehearsal (維持リハーサル)เน้นท่อง, จำ, ทำซ้ำ
Explicit Knowledge ต้องมี Elaborative Rehearsal(精緻リハーサル)เน้นเชื่อมโยง, เพิ่มเติม

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨


กลับมาที่เรื่อง描写กันบ้าง การเล่าเรื่องที่ดีนั้น ขอสรุปง่ายๆสั้นจากกิจกรรมที่ทำในห้องเรียนคือ
เล่าแข็งทื่อไปไม่ดี รายละเอียดไม่ครบ เพื่อให้เรื่องมีรายละเอียดที่ดีขึ้น เราต้องบรรยายให้มันชัดดดดดดดดดดที่สุด และรายละเอียดเยอะๆๆๆๆๆ เพื่อคนที่เขามาฟัง มาอ่านเรื่องของเรา ไม่เอ๊ะ หรือสงสัยกับเรื่องที่เราเล่า ก่อนถึงจุดไคลแมกซ์ของเรื่องต้องช้าและชัด แล้วต้องแอบมีหักมุมนิดๆหรือเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้น ต้องมีความสมจริงリアリティ และoriginalityของเรื่องด้วย個性

งานที่ดีคืองานที่ละเอียดจริงๆค่ะ นึกถึงฉากในภาพยนตร์เรื่องInceptionที่เป็นเรื่องราวของกลุ่มคนที่เข้าไปอยู่ในโลกความฝัน คือโลกที่เราสามารถตระหนักรู้ได้ด้วยจิตใต้สำนึกขณะนอนหลับ สามารถไปล็อบบี้ความคิดคนอื่นได้ขณะจิตใต้สำนึกทำงานอยู่ตอนที่เราไม่รู้ตัว มีฉากนึงที่ทีมงานของพระเอกโดนจับได้ว่า ตอนนั้นไม่ใช่โลกแห่งความจริง เพราะว่า ทำฉากในความฝันไม่เนียนค่ะ ซึ่งเป็นจุดเล็กๆจุดเดียวที่พลาดเพราะว่าตอนสร้างโลกความฝันโลกนั้น พลาดในการใช้พรมในห้องของโรงแรมในความฝันค่ะ ซึ่งคนออกแบบคนนั้นเผลอไปใช้พรมใยสังเคราะห์ ทำให้บุคคลเป้าหมายจับได้ว่า เขาไม่ได้อยู่ในโรงแรมประจำจริงๆแต่ว่าอยู่ในความฝันค่ะ อาจจะเหมือนมา99%แต่มาตกม้าตายตรงรายละเอียด ก็ไม่ได้นะคะ ไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้เอง อาจจะเห็นภาพได้มากกว่าที่อธิบายไปนะคะ นี่ก็แสดงให้เห็นอีกอย่างหนึ่งว่า 表現力เรายังไม่พอ แถมภาษาไทยก็ยังแปลกๆอีก55555 (ภาษาไหนก็แปลก)

เจอกันใหม่เอนทรี่หน้า รีวิวซีรี่ส์เหมือนเดิมนะคะ

จะไม่ดองแล้ว :)


コメント

  1. คนที่สรุปสิ่งที่เรียนในสัปดาห์นี้ลงblogมีน้อยมาก สรุปได้เข้าใจง่ายดีค่ะ

    返信削除
  2. ขอบคุณมากเลย เข้าใจเรื่อง 中間言語 มากขึ้นเยอะเลย (ไม่ใช่ว่าตอนครูสอนในห้องไม่เข้าใจนะ แต่อ่านบล็อคนี้แล้วเข้าใจมากขึ้น5555)

    返信削除

コメントを投稿

このブログの人気の投稿

Homeworkあいづち+สิ่งทีคิดได้ยามป่วย(เป็นโรคกระเพาะ)

第11回:Merrill Swain's Comprehensible Output (CO)

イントロ&エントリーNo.①:ゲゲゲの女房