第7回:その記憶はいつまで覚えていますか?
สวัสดีค่ะ こんばんは。エミリーです。
หลายคนอาจจะงงว่า อ้าว..ครั้งที่5กับ6ไปไหน บล็อกเราพิเศษค่ะ 4แล้ว7เลย
ไปคิวชูมาอัพทดแทนครั้งที่หายไปแล้วนะคะ ไปตามอ่านได้^___^
ในครั้งที่ผ่านๆมาเราได้เรียนเรื่อง input กันมาเยอะมากๆ คราวนี้เราก็จะมาต่อยอดว่าเมื่อเรารับinputมาแล้ว สมองของเราจะเอาไปทำอย่างไรต่อ
ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของสมองเราอย่างคร่าวๆเลยก็จะเป็นกระบวนการ
หลายคนอาจจะงงว่า อ้าว..ครั้งที่5กับ6ไปไหน บล็อกเราพิเศษค่ะ 4แล้ว7เลย
ไปคิวชูมาอัพทดแทนครั้งที่หายไปแล้วนะคะ ไปตามอ่านได้^___^
ในครั้งที่ผ่านๆมาเราได้เรียนเรื่อง input กันมาเยอะมากๆ คราวนี้เราก็จะมาต่อยอดว่าเมื่อเรารับinputมาแล้ว สมองของเราจะเอาไปทำอย่างไรต่อ
ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ของสมองเราอย่างคร่าวๆเลยก็จะเป็นกระบวนการ
" input→intake→output "
คือเราจำว่า เหมือนกับการที่เรากินอาหาร ซึ่งในที่นี้ก็คืออาหารสมอง(input) แล้วร่างกายดูดซึมเอาสารอาหารไปใช้(intake) แล้วร่างกายก็เอาพลังงานไปใช้ประโยชน์ เช่น ออกแรง(output)ค่ะ
ซึ่งที่จริงแล้วมันมีรายละเอียดปลีกย่อย และกระบวนการนู่นนี่นั่นกว่าinputจะออกมาเป็นoutputเยอะมาก
ที่สำคัญเลยคือต้องมี インプット強化กับ気付き ถึงจะเกิดการเรียนรู้จากinputที่ดี เพื่อให้กระบวนการมันดี เหมือนกินอาหารแล้วถ้าเราเคี้ยวข้าวมาดีๆมันก็จะย่อยง่าย
ซึ่งนอกจากนี้ เค้าก็พูดถึงความจำ(สั้น แต่รักฉันยาว←มุกโบราณอีกแล้ว ขออภัย)
ว่ามันจะมีความจำอยู่ 2แบบคือ
1. Short/Medium-term Memory/Working Memory(短期記憶)
และ 2. Long-term Memory(長期記憶)
ยังบอกอีกว่าไอ้เจ้า Short/Medium-term Memory มันจะเปรียบเสมือนกับ กระดานดำที่เราเขียนข้อมูลไว้ แต่เมื่อผ่านไปนานๆ ข้อมูลมันก็จะเลือน แต่ถ้าเราฝึกการจดจำข้อมูลนั้นๆบ่อยๆ มันก็จะกลายมาเป็น Long-term Memoryของเราได้
โดยเคล็ดลับของมันก็คือ ฝึกการจดจำแบบ spaced repitition การทำซ้ำแบบเว้นระยะ
เหมือนการออกกำลังกาย คือสัปดาห์หนึ่งทำสัก 2-3ครั้ง ต้องมีพักช่วงบ้าง ไม่งั้นร่างกายมันจะชิน แล้วทำให้ออกกำลังกายได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คือเหมือนวิ่งเบิร์นไขมัน ถ้าวิ่งทุกวันร่างกายจะอึดขึ้นจนไม่เบิร์น (เกี่ยวหรือเปล่าไม่รู้ แต่เข้าใจแบบนี้555)
อีกอย่างนึง คือ หัดจำข้อมูลเป็นก้อนๆ หรือ chunk คือจัดกลุ่มข้อมูลให้มันอยู่เรียงกัน แล้วมันจะจำได้ง่ายขึ้น! ตอนแรกศาสตราจารย์จากHarvard University นามว่า George Millerเสนอทฤษฎี The truth of magic number 7 ในปี 1955 ซึ่งทำให้มีการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวศาสตร์ใหม่นี้ที่ชื่อ Cognitive Psychology (認知心理学;จิตวิทยาในกระบวนการเรียนรู้)เกิดขึ้น โดยคนเราจะจำกลุ่มข้อมูลเป็นก้อน(chunk)ได้ไม่เกิน 7±2หน่วย
George Miller
แต่ต่อมา Nelson Cowan ได้เสนอทฤษฎี The magic number 4 in Short-term memoryออกมาเมื่อปี 2001 คือคนเราจะจำกลุ่มข้อมูลเป็นก้อน(chunk)ได้ไม่เกิน 4±1หน่วย
Nelson Cowan
ซึ่งส่วนตัวก็เห็นด้วยกับทฤษฎีของCowanมากกว่านะ ยกตัวอย่างเช่น เลขชุดยาวๆอย่างเลขบัตรประจำตัวประชาชน(13หลัก) หรือเลขบัตรเครดิต(16หลัก) เราก็แบ่งเป็นทีละก้อนทีละ3-5ตัวเลขเลย
ตัวอย่าง
เลขบัตรประจำตัวประชาชน(เลขปลอมค่ะไม่ต้องห่วง)
11014 01592 490
4(+1) 4(+1) 4(-1)
เลขบัตรเครดิต จำง่ายกว่ามากเพราะที่หน้าบัตรมันแบ่งเลขเป็นก้อนๆให้ทีละ4ตัวเลขอยู่แล้ว
4000 1234 5678 9123
ลองเอาไปใช้กันดูนะคะ วิธีจำแบบนี้ ได้ผลแน่นอน
นี่เคยท่องเลขบัตรประจำตัวประชาชนของเพื่อนได้ ตอนเพื่อนขอให้ช่วยสมัครบางอย่างให้จนมันจำติดหัวได้แม่นไปแล้วค่ะ (ทุกวันนี้ยังจำได้อยู่เลย ไม่ได้อยากจำเลยนะ)
อีกอันนึงคือท่องเลขบัตรเครดิตค่ะ ไว้ช็อปออนไลน์ ไม่ต้องแงะบัตรขึ้นมาดู ช็อปเพลินรูดปรื๊ดๆ อันนี้ก็ดีไปอีก
ฝึกดู เพื่อการฝึกคิดเป็นระบบ และเพิ่มความสามารถในการจำนะคะ
พบกันใหม่เอนทรี่หน้า(ที่เป็นการบ้านของจริง)ค่ะ✨
🎶明日はきっといい日になるー高橋優
อัพเร็วจัง เขียนละเอียดดีมากเลยอะ จริงๆเราตามอ่านทุกอาทิตย์แหละเพิ่งจะมาคอมเม้น5555 เพิ่งสังเกตว่าเลขบัตรเครดิตมันเป็นチャンク น่าสนใจมาก
返信削除ขอบคุณที่ติดตามก้ะะะะ 最後までお見逃しを!!
削除มีภาพ Miller กับ Cowan ด้วย !!!
返信削除ไปค้นข้อมูลมาเล็กน้อยค่ะ^^
削除