第4回:自己モニターはしていますか?+学部紹介の内省
สวัสดีค่ะ こんばんは。エミリーです。คนดีคนเดิมกลับมาแล้วค่ะ ㅠㅠ
มากกว่างานเยอะคือนิสัยขี้หมกงาน วีคนี้เราจะไม่ทำอย่างนั้นแล้ว
ต่อจากคราวที่แล้ว และคราวที่แล้วนู้น...เราก็ยังอยู่กับคุณลุง Krashen👓
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า Krashen มีทฤษฎี 5 อย่างที่เกี่ยวกับ Second Language Acquisition (SLA)คือ
・ the Acquisition-Learning hypothesis
・ the Monitor hypothesis
・ the Input hypothesis
・ the Natural Order hypothesis
・ the Affective Filter hypothesis
คราวที่แล้วเราเรียนเรื่อง Input Hypothesis กันไปแล้วว่า keywordของinputที่ดีต้องมี
"มาก/ยากพอดี/บ่อย,เด่น/เกี่ยวข้อง"
✨คราวนี้เราจะมาเรียนทฤษฎี 2 อันแรกกันคือ Acquisition-Learning Hypothesis และ Monitor Hypothesis ค่ะ
Acquisition-Learning Hypothesis
Acquisition(習得)🆚 Learning(学習)
Acquisition คือการเรียนรู้ผ่านจิตใต้สำนึกที่มีกระบวนการแบบที่เด็กเล็กๆเรียนภาษาแม่ของตนเอง
Learning คือการเรียนผ่านทาง"โครงสร้าง"ของภาษา เพื่อสร้างความรู้ที่เกี่ยวกับภาษานั้นๆ เช่น เรียนไวยากรณ์ของภาษาต่างๆ
ซึ่งKrashenก็ได้กล่าวไว้ว่า💭การเรียนแบบacquisitionสำคัญกว่าการเรียนแบบlearningนะจ๊ะ
ส่วน Monitor Hypothesis มันเชื่อมกับ Acquisition-Learning Hypothesisได้อย่างไร?
กล่าวคือMonitor Hypothesis มันอธิบายความสัมพันธ์ของ Acquisition-Learningว่าการเรียนรู้แบบlearningมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้แบบacquisitionอย่างไร
เช่น การมานั่งทบทวนดูการใช้ภาษาที่สองตนเองเขียนออกมา(monitoring) ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบlearningเนี่ย มันถูกหรือผิด แล้วก็นำมาเทียบกับการเรียนไวยากรณ์ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบacquisitionว่ามันถูกหรือผิด และควรแก้ไขตรงไหนบ้าง
คนที่เรียนภาษาที่สองอย่างเราๆก็จำเป็นต้องmonitorตัวเองอยู่สม่ำเสมอนะ เพื่อให้การเรียนรู้และการใช้ภาษาที่สองของตนเองดีขึ้น เช่น ที่ทำในห้องเรียนคือ พูดแล้วอัดเสียงไว้ มาแกะเทปให้เป็นตัวอักษร เราก็จะเห็นได้ชัดว่า ตรงนี้เราพูดผิดนะ ใช้ไวยากรณ์ผิดนะ เป็นต้น
แล้วนอกห้องเรียน เราจะmonitorตัวเองได้อย่างไร?
สำหรับเรา เราชอบเล่นทวิตเตอร์ ก็จะทวีตเป็นภาษาญี่ปุ่น ตอนแรกผิดถูกไม่รู้ ขอแค่ได้ใช้ภาษาแบบกันลืมก็พอ ก่อนทวีตก็เช็คดูไวยากรณ์ว่า ไม่ผันนู่นนี่ผิดนะ
หลังๆพอเราเริ่มชินกับการใช้ภาษาที่สองในการคิดและทวีตให้ไวแล้ว เราต้องรู้จักmonitorคนอื่นด้วย ก็เพื่อนๆญี่ปุ่นในทวิตเตอร์ ยังไงเค้าเป็นเนทีฟเค้าก็ไม่ใช้ผิดอยู่แล้ว บางทีก็ได้เจอ表現ใหม่ๆในทวิตเตอร์ที่เป็นภาษาวัยรุ่นหรือ流行語 ณ ตอนนั้นๆเอาไปใช้แบบไม่ตกยุคอีกด้วย
➡️ยิ่งถ้าเราสังเกตและmonitorบ่อยๆเนี่ย ก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการเรียนภาษามากขึ้นเท่านั้น
➡️อีกอย่างหนึ่ง ถ้าสเต็ปในการเรียนรู้ของเรามันใหญ่และยากไป ให้แบ่งเป็นสเต็ปย่อยๆก่อน เพื่อให้เรียนรู้ง่าย
ก็อย่าลืมmonitorตัวเองกันบ่อยๆนะคะ เพื่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
นอกจากการพูดที่เคยได้monitorในห้องจากการอัดเสียงและถอดเทปไปครั้งสองครั้งแล้ว ก็อย่าลืมmonitorการเขียนของตัวเองด้วยนะ
ภาษาญี่ปุ่นดู文頭&文末呼応 ด้วยนะคะ ง่ายๆเช่น NはNだ。นะคะ สติจงมา
เหมือนตอนเด็กๆที่เราเรียนภาษาอังกฤษเรื่องSubject and Verb agreementน่ะค่ะ I am, You are, She is, They are นะ จะมา They is ก็ไม่ได้นะ เรื่องขำๆคือเคยเจอเพื่อนcaption instagramว่า a best moment in my life...
⚠️สำหรับเรา ข้อควรระวังในการmonitorคือ ติดนิสัยmonitorมากไปอาจกลายเป็นความขี้หงุดหงิดเวลาเจอคนเขียนผิดได้ค่ะ💢
🌻นอกเรื่อง🌻
รู้จัก การฝึกฝน10,000ชั่วโมงกันไหมคะ?
วันนี้เรียนวิชาภาษาเกาหลีธุรกิจตอนเช้า สอบพูดสัมภาษณ์งานทั้ง自己PR、長所短所、志望動機เหมือนที่เรียนวิชาเอกญี่ปุ่นตอนปี3เลย
อาจารย์ชาวเกาหลีชมด้วยแหละว่าใช้ภาษาเกาหลีได้เหมือนเนทีฟเลย อาจารย์ชมว่าใช้คำศัพท์ได้ดีกว่าคนอื่นๆในห้องเยอะมากๆ (เค้าชมจริงๆนะ ไม่ได้ชมตามน้ำ) แต่สำเนียงนี่อีกเรื่องนึงนะคะ555
สำหรับเรา รู้สึกว่ามันเป็น最高の褒め言葉เลยนะ น่าจะเป็นgoalของคนเรียนภาษาที่สองหลายๆคนว่าอยากใช้ภาษาให้ได้เท่าเนทีฟเลย แน่นอนว่าเรายังมีจุดต่างด้าวอยู่เยอะเหมือนกัน
ทำอย่างไรให้ใกล้เนทีฟที่สุด?: สำหรับเราคือ เรียนคำศัพท์เกาหลีใหม่ๆด้วยการเทียบกับคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นค่ะ เนื่องจากภาษาทั้งสองมันใกล้เคียงกันมากๆ ถือว่าเป็นกลโกงอีกอันเวลาเราจับเคล็ดได้แล้ว
เช่น คำว่า場(じょう)โจว ในภาษาเกาหลีจะอ่านว่า 장 จาง เพราะฉะนั้นเวลาเห็นคำศัพท์เกาหลีลงท้ายว่า 장 ก็จะพอเดาได้ว่า อันนี้คือคำศัพท์เกี่ยวกับสถานที่นะ
ซึ่งการเดาศัพท์นี้ ทุกๆอย่างเรียนด้วยตัวเองผ่านการดูซีรี่ส์และรายการวาไรตี้ค่ะ
ฟังแล้วแกะทุกคำพูดว่าเค้าพูดว่าอะไร→เรียงประโยคเป็นตัวอักษรในหัวพร้อมแปล→จำรูปแบบประโยคการใช้เพื่อไปใช้ต่อ(ออกมาเป็นoutputค่ะ)
อาจจะยังไม่ถึง10,000ชั่วโมงดี แต่คิดว่าเกินครึ่งทางแล้วค่ะ เพราะเคยมีจำนวนชั่วโมงดูต่อวันสูงสุด12ชั่วโมงค่ะ ปีนี้ต้องได้TOPIK6(สอบวัดระดับภาษาเกาหลีระดับสูงสุด)ค่ะ
✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨
学部紹介の内省 (นี่ก็ถือเป็นการmonitorตัวเองอีกทางหนึ่ง)
ยอมรับว่าเป็นคนที่ภาษาไทยห่วยแตกมาก พูดไม่รู้เรื่อง เมื่อภาษาไทยโครงสร้างไม่ดี พออยากแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นงามๆก็ย่อมทำไม่ได้ ไอเดียไม่まとまるเลยยยแบบเลยยย ตอนได้ฟีดแบ็คจากเพื่อนว่าเนื้อหามันแยกเป็นสองส่วนนะ อยากให้เชื่อมดีกว่านี้ ก็ลองทำใหม่แล้ว คิดว่าดีขึ้น ส่วนอันที่เวิ่นเว้อไปและไม่ค่อยเกี่ยวก็ตัดออกตามที่เค้าแนะนำมา พอทำแล้วอ่านง่ายขึ้นเยอะเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าแก้構成แบบ"รื้อ"ไปเยอะพอสมควร
สิ่งที่ต้องปรับปรุงต่อจากนี้คือ คิดดีๆและคิดเป็นภาษาเดียวพอ ไม่งั้นจะจำไม่ได้ว่าตัวเองอยากพูดอะไรและต้องเลิกการเขียนโครงร่างงานแบบผสมภาษาเพราะมันไม่รู้เรื่อง ต้องเขียนเป็นภาษาอะไร ควรเริ่มกระบวนการคิดเป็นภาษานั้นด้วยเลย
ส่วนดี...น้อยมากเลย แต่คิดว่าของตัวเอง เขียนตามใจตัวเอง แนะนำคณะถ่ายทอดผ่านความคิดตัวเองจริงๆ อันใหม่ที่แก้แล้วคิดว่ามันดีขึ้นจริงๆนะ(อุปาทานเล็กน้อย) อ้อ สุดท้ายคือ การที่เรารู้นิสัยตัวเองอีกอย่างจากการทำงานเขียน คือเป็นคนที่คิดว่าถ้าตัวเองดีประมาณนึงแล้ว จะไม่พัฒนา แต่เมื่อพอรู้ว่าเราด้อยและด้วยความ負けず嫌いก็ทำให้อยากพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น และขยันมากขึ้นค่ะ
แต่ชอบวันนี้ที่อาจารย์พูดถึงเรื่องเนื้อหาที่เราเขียนค่ะ คือเขียนเกี่ยวกับเรื่อง個性กับคณะอักษรฯ แล้วก็พูดถึงเพลงของSMAPเพลงนี้ขึ้นมานิดหน่อย วันนี้ขอปิดเอนทรี่ด้วยเพลงเจป๊อปแห่งชาติแล้วกันค่ะ
🎶世界に一つだけの花ーSMAP
「No.1にならなくてもいい、もともと特別なOnly One」
コメント
コメントを投稿