九州行ってきました!:世界遺産候補、教会巡り
お久しぶりです!エミリーただいま戻りました!
ไม่ได้เข้าคลาสเรียนไปอาทิตย์นึง ไปคิวชูมาค่ะ กับทุนทัศนศึกษาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิวชู
กับโครงการ Re-Inventing Japan Project ซึ่งธีมงานปีนี้เกี่ยวกับ 世界遺産(มรดกโลก)ค่ะ
ได้ไปดูงานของจังหวัดนางาซากิมาค่ะ เค้าพยายามเสนอ โบสถ์คริสต์ในแถบบริเวณหมู่เกาะโกะโต五島列島ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมค่ะ ซึ่งทางท้องที่ก็พยายามโปรโมทกันอยู่มากๆเลยทั้งการท่องเที่ยวว่าโบสถ์พวกนี้เป็น世界遺産候補นะ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์นะ
หมู่เกาะโกะโต五島列島 เป็นส่วนหนึ่งในจังหวัดนางาซากิค่ะ ความจริงแล้วมีสนามบินบินตรงลงเกาะได้เลยนะคะ แต่ว่าคราวนี้ไปด้วยเรือเฟอร์รี่ค่ะ จากสนามบินฟุกุโอกะมาถึงท่าเรือนางาซากิก็สองชั่วโมงครึ่ง ต่อเรืออีกสามชั่วโมงสี่สิบห้านาทีค่ะ (สุดๆไปเลยยย) ขึ้นชื่อเรื่องคริสต์ศาสนาและความเชื่อทางคริสต์ที่แรงกล้ามากๆค่ะ มีมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่16 ตอนนักบุญฟรานซิสซาเวียร์มาเหยียบเกาะโกะโตในแผ่นดินญี่ปุ่นเมื่อปี1549ค่ะ
*
ICOMOS (国際記念物遺跡会議):
International Council on Monuments and Sites
พอไปทัศนศึกษาเสร็จแล้ว ก็กลับมาที่ฟุกุโอกะ เพื่อทำการจำลองการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกค่ะ ในกรณีที่มีเคสตัวอย่าง ว่าจะยกให้เป็นมรดกโลกดีมั้ย ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องผ่านขั้นตอนความคิดทางกฎหมาย เรียกได้ว่า ต้องเรียนรู้กันใหม่หมดเลยค่ะ ทั้งคำศัพท์ภาษาอังกฤษก็ดี ภาษาญี่ปุ่นก็ดี เพราะต้องอ่านtextเป็นภาษาอังกฤษแต่คุยกับเพื่อนเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ
คราวนี้มาถกกันในประเด็น บริเวณพื้นที่ถ้ำกอร์แฮม ในจิบรัลตาร์ ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษที่ติดกับสเปนค่ะ เค้าจะยื่นเป็นมรดกโลกแต่ว่าเกิดปัญหาพื้นที่กันชนทับซ้อนทางน้ำกับสเปนซึ่งมีปัญหากันอยู่ค่ะ
ซึ่งขั้นตอนในการพิจารณาให้ขึ้นเป็นมรดกโลกมีตัวเลือกอยู่ 4ตัวเลือกค่ะตามนี้
諮問機関による評価結果及び勧告の4つの区分
※
世界遺産委員会では、諮問機関の評価結果及び勧告を踏まえ、次の同区分により決議が行われる。
[1]
記載(Inscription): 世界遺産一覧表に記載するもの。
[2]
情報照会(Referral): 追加情報の提出を求めた上で次回以降の世界遺産委員会で再審議するもの。
[3]
記載延期(Deferral): より綿密な調査や推薦書の本質的な改定が必要なもの。推薦書を再提出した後、約1年半をかけて再度諮問機関の審査を受ける必要がある。
[4]
不記載(Not to inscribe): 記載にふさわしくないもの。(世界遺産委員会で不記載決議となった場合、例外的な場合を除き再推薦は不可。) (環境省引用)
ขออธิบายเป็นภาษาไทยอีกรอบ ตาม✨ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้✨ซักนิดนะคะ
記載 คือ การจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลก (ซึ่งในที่ประชุมต้องโอเคกันทั้งหมด และในที่ประชุมนี้จะมีตัวแทนสมาชิกจากประเทศต่างๆมาถกเถียงกันด้วยกฎหมาย โดยที่ต้องไม่เกิดการพิพาทกัน และต้องได้ข้อสรุป(concensus)ให้ได้ค่ะ)
情報照会 คือ มีแนวโน้มได้เป็นมรดกโลก แต่ต้องมีการประชุมต่อครั้งหน้าอีก โดยดึงหลักฐานอื่นๆ เช่นข้อกฎหมายสมัยล่าอาณานิคม หรือกฎหมายสมัยใหม่มางัดข้อกันค่ะ ซึ่งประเทศต่างๆก็ต้องแสดงจุดยืนของตัวเองว่าจะโอนเอียงไปทางใด แต่ไม่ได้อวยอย่างน่าเกลียดแต่อย่างใด
記載延長 คือ สรุปเป็นภาษาบ้านๆง่ายๆว่า เรื่องมันยุ่งยากอะ เลื่อนไปละกัน ไปทำมาใหม่ ตอนนี้ยังไม่อยากคิด555
不記載 คือ ทางที่ประชุมไม่เห็นสมควรว่าจะเป็นมรดกโลก
総意 concensus คือ ข้อสรุป/มติข้อตกลงในที่ประชุมนั้นๆ
模擬世界遺産会議 คือ การจำลองการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
緩衝地帯 คือ พื้นที่กันชน
無形遺産 คือ มรดก(ทางวัฒนธรรม)ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ตำนาน ดนตรีพื้นบ้าน การละเล่น ล่าสุดของญี่ปุ่นเช่น อาหารญี่ปุ่น และภูเขา ก็ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมหมวดนี้ค่ะ
有形遺産 คือ มรดก(ทางวัฒนธรรม)ที่จับต้องได้ เช่น สถาปัตยกรรม ภาพวาด ภาพพิมพ์ ฯลฯ
ไม่ได้เข้าคลาสเรียนไปอาทิตย์นึง ไปคิวชูมาค่ะ กับทุนทัศนศึกษาของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคิวชู
กับโครงการ Re-Inventing Japan Project ซึ่งธีมงานปีนี้เกี่ยวกับ 世界遺産(มรดกโลก)ค่ะ
ได้ไปดูงานของจังหวัดนางาซากิมาค่ะ เค้าพยายามเสนอ โบสถ์คริสต์ในแถบบริเวณหมู่เกาะโกะโต五島列島ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมค่ะ ซึ่งทางท้องที่ก็พยายามโปรโมทกันอยู่มากๆเลยทั้งการท่องเที่ยวว่าโบสถ์พวกนี้เป็น世界遺産候補นะ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์นะ
หมู่เกาะโกะโต五島列島 เป็นส่วนหนึ่งในจังหวัดนางาซากิค่ะ ความจริงแล้วมีสนามบินบินตรงลงเกาะได้เลยนะคะ แต่ว่าคราวนี้ไปด้วยเรือเฟอร์รี่ค่ะ จากสนามบินฟุกุโอกะมาถึงท่าเรือนางาซากิก็สองชั่วโมงครึ่ง ต่อเรืออีกสามชั่วโมงสี่สิบห้านาทีค่ะ (สุดๆไปเลยยย) ขึ้นชื่อเรื่องคริสต์ศาสนาและความเชื่อทางคริสต์ที่แรงกล้ามากๆค่ะ มีมาตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่16 ตอนนักบุญฟรานซิสซาเวียร์มาเหยียบเกาะโกะโตในแผ่นดินญี่ปุ่นเมื่อปี1549ค่ะ
江上教会
水の浦教会
旧五輪教会
ศาสนาคริสต์คาทอลิกในญี่ปุ่นเนี่ย โดยเฉพาะในแถบจังหวัดนางาซากิ ค่อนข้างจะรุ่งเรืองเพราะเป็นเมืองท่า มีมิชชันนารีมาเผยแพร่มากมาย รวมถึงนักบุญฟรานซิส ซาเวียร์(ที่มาชื่อโรงเรียนเซนต์ฟรังฯในบ้านเราเนี่ยแหละ)มาเผยแพร่ศาสนาด้วย จนทำให้เอโดะบะคุฟุหรือรัฐบาลญี่ปุ่นในสมัยนั้นต้องทำการปิดประเทศเพื่อไม่ให้พวกมิชชันนารีมาเผยแพร่ศาสนาได้ เพราะอาจเป็นต้นเหตุทำให้โดนยึดประเทศได้ แถมแบนทั้งศาสนา ทั้งคนนับถือศาสนาคริสต์โดยการจับมาขังให้รับสารภาพว่าตนเป็นคริสต์แล้วก็ฆ่ากันด้วย
ซึ่งทางจังหวัดนางาซากิเอง เค้าก็จะพยายามนำเสนอโบสถ์คริสต์ที่สร้างขึ้นและคงอยู่ในสมัยที่ศาสนาคริต์โดนแบนนั้นน่ะ มาขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก ค่ะ เหตุผลเพราะเป็นสถานที่ที่ศาสนาคริสต์ฟื้นขึ้นมาและยังคงมีผู้นับถืออยู่(ขนาดโดนแบนไปแล้ว200ปี) โบสถ์คริสต์ที่สร้างแบบแอบๆซ่อนๆในสมัยศาสนาคริสต์โดนแบนก็ยังคงอยู่ในสภาพดีจนถึงทุกวันนี้ค่ะ
พูดตามการมองเชิงวัฒนธรรมก็ถือว่า ถึงแม้ว่าศาสนาคริสต์ในพื้นที่แถบนี้จะเป็นชนส่วนน้อยมากกกกกของประเทศญี่ปุ่น แต่ว่าเค้ามีประวัติและความเชื่อมายาวนานจริงๆ คือต่อสู้กับความเชื่อที่หนักแน่นแม้ต้องแลกด้วยชีวิต ทำให้นึกถึงเหตุการณ์ที่ฮิตเลอร์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวอย่างไรอย่างนั้นเลยค่ะ เพราะว่าศาสนิกชนสมัยนู้น(ขนาดอยู่เกาะห่างไกลนะ)เดินทางรอนแรมตามเกาะแบบหลบๆซ่อนๆเพื่อมาประกอบพิธีทางศาสนาในโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ค่ะ
แต่ถ้ามองทางมุมมองกฎหมายซึ่งถือว่าเป็นมุมมองใหม่มากสำหรับเรา ก็คือเค้ากำหนดขอบเขตในตอนยื่นเรื่องตอนแรกกว้างไป คือจะจดทะเบียนโบสถ์คริสต์ทุกที่ในบริเวณนั้นเป็นมรดกโลก แต่ก็โดนICOMOS*ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลเรื่องมรดกโลกบอกว่าให้ลดขอบเขตมาเป็นแค่โบสถ์คริสต์ในช่วงที่ศาสนาคริสต์โดนแบนพอค่ะ มันจะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมมากกว่า (ก็จริง)
ตอนนี้อยู่ในระหว่างที่ยื่นเอกสารไปแล้วและรอUNESCOมาตรวจสอบพื้นที่จริงอยู่ค่ะ ซึ่งจะใช้เวลาอีกปีสองปีเป็นอย่างน้อยในการขอเป็นมรดกโลกค่ะ
เมื่อทัศนศึกษาเสร็จแล้ววันสุดท้ายของการออกทริปก็ต้องทำพรีเซ้นค่ะ ขอบคุณความโหดของอักษรจุฬาที่ทำให้พรีเซ้นผ่านไปได้ด้วยดี และต้องนำเพื่อนคนญี่ปุ่นในกลุ่มพรีเซ้นค่ะ ต้องคิดทั้งสคริปต์ทั้งเนื้อหา555 ทำลักษณะเด่นของโบสถ์คริสต์ในพื้นที่หมู่เกาะโกะโตค่ะ (รู้สึกถึงความสายคัลเจอร์มากๆ คนอื่นเค้ามาแนวstrategy)
✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨
คราวนี้มาถกกันในประเด็น บริเวณพื้นที่ถ้ำกอร์แฮม ในจิบรัลตาร์ ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษที่ติดกับสเปนค่ะ เค้าจะยื่นเป็นมรดกโลกแต่ว่าเกิดปัญหาพื้นที่กันชนทับซ้อนทางน้ำกับสเปนซึ่งมีปัญหากันอยู่ค่ะ
ซึ่งขั้นตอนในการพิจารณาให้ขึ้นเป็นมรดกโลกมีตัวเลือกอยู่ 4ตัวเลือกค่ะตามนี้
ขออธิบายเป็นภาษาไทยอีกรอบ ตาม✨ภาษาญี่ปุ่นน่ารู้✨ซักนิดนะคะ
記載 คือ การจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลก (ซึ่งในที่ประชุมต้องโอเคกันทั้งหมด และในที่ประชุมนี้จะมีตัวแทนสมาชิกจากประเทศต่างๆมาถกเถียงกันด้วยกฎหมาย โดยที่ต้องไม่เกิดการพิพาทกัน และต้องได้ข้อสรุป(concensus)ให้ได้ค่ะ)
情報照会 คือ มีแนวโน้มได้เป็นมรดกโลก แต่ต้องมีการประชุมต่อครั้งหน้าอีก โดยดึงหลักฐานอื่นๆ เช่นข้อกฎหมายสมัยล่าอาณานิคม หรือกฎหมายสมัยใหม่มางัดข้อกันค่ะ ซึ่งประเทศต่างๆก็ต้องแสดงจุดยืนของตัวเองว่าจะโอนเอียงไปทางใด แต่ไม่ได้อวยอย่างน่าเกลียดแต่อย่างใด
記載延長 คือ สรุปเป็นภาษาบ้านๆง่ายๆว่า เรื่องมันยุ่งยากอะ เลื่อนไปละกัน ไปทำมาใหม่ ตอนนี้ยังไม่อยากคิด555
不記載 คือ ทางที่ประชุมไม่เห็นสมควรว่าจะเป็นมรดกโลก
総意 concensus คือ ข้อสรุป/มติข้อตกลงในที่ประชุมนั้นๆ
模擬世界遺産会議 คือ การจำลองการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
緩衝地帯 คือ พื้นที่กันชน
無形遺産 คือ มรดก(ทางวัฒนธรรม)ที่จับต้องไม่ได้ เช่น ตำนาน ดนตรีพื้นบ้าน การละเล่น ล่าสุดของญี่ปุ่นเช่น อาหารญี่ปุ่น และภูเขา ก็ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมหมวดนี้ค่ะ
有形遺産 คือ มรดก(ทางวัฒนธรรม)ที่จับต้องได้ เช่น สถาปัตยกรรม ภาพวาด ภาพพิมพ์ ฯลฯ
本物のユネスコの人も参加しました!
今回、エミリーはタンザニア代表です!
プログラムの皆さんと!
ขออนุญาตรวบยอดจากที่ขาดเรียนไปคราวที่แล้วนู้น มาเป็นบล็อคๆนี้นะคะ แหะๆๆ
โปรแกรมนี้สนุกมากๆ แถมวิชาการเต็มเปี่ยมมากๆเลยค่ะ ชอบการวางแผนของโครงการเค้ามากๆ ปั้นเด็กไกลระดับโลกจริงๆค่ะ
ทำให้นึกถึงโครงการトビタテ日本!ของรัฐบาลญี่ปุ่นเลยค่ะที่ให้เด็กมหาลัยฯญี่ปุ่นรับทุนไปแลกเปลี่ยนตามประเทศต่างๆค่ะ
แล้วพบกันใหม่เอนทรี่หน้าค่ะ✨
โอ้โห ท่าทางน่าสนุกมาก และได้เรียนรู้อะไรมากด้วย
返信削除เรียนรู้ได้เยอะจริงๆค่ะ โดยเฉพาะมุมมองทางด้านกฎหมายที่แทบไม่เคยได้แตะ ได้มีโอกาสไปเรียนรู้ทางด้านเซมมงอื่นที่เราไม่เคยรู้มาก่อนด้วยค่ะ ท้าทายมากๆ เพื่อนๆโปรเฟสชั่นนอลกันทุกคนเลยค่ะ
削除貴重な経験ですね。教会めぐり、それからミーティング参加、とても充実したプログラムだったようですね。タイにもいろんな世界遺産がありますよね。
返信削除そうですね。このプログラムを通じて大変お勉強になりました!参加してきて、タイの世界遺産の価値を再発見することもできました!
削除