第3回:良いinputとは?+ My New ME✨

วันนี้เรียนเรื่อง Krashen's Input Hypothesis ต่อจากคราวที่แล้วค่ะ

เมื่อคราวที่แล้ว เราได้รู้ว่า Input Hypothesis ของ Krashen เนี่ย ต้องประกอบไปด้วย 3 อย่างคือ


" 大量+理解可能+(i+1) "

นอกจากด้านบนที่กล่าวไปแล้วนี้ วันนี้เราจะมาเรียนคำศัพท์ใหม่เพิ่มเติมเกี่ยวกับการInputกันอีกหน่อยค่ะ

Natural Approach ...การเข้าถึงแบบธรรมชาติ??? มันคืออะไรอ่ะ??😱😱😱
อันที่จริงแล้ว มันคือ การสอนภาษาที่สอง โดยที่ไม่ใช้ภาษาแม่ของผู้เรียนในการอธิบายหรือสื่อความ

จะใช้คู่กับTotal Physical Response (TPR) ง่ายๆคือ Learning by doing! นั่นเอง
ก็คือครูบอกให้ผู้เรียนทำaction บางอย่าง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆในภาษาที่สอง ด้วยการ เคลื่อนไหวร่างกายตามคำพูด เช่น (ที่ในคลาสยกตัวอย่างคลิปการสอนมาให้ดู) จะให้เด็กดูภาพจากบัตรคำ ฟังครูพูด แล้วทำท่าตาม โดยการป้อนข้อมูลคำศัพท์ใหม่ๆ จะเน้นการทำซ้ำ เพื่อให้จำได้ค่ะ

และนอกจากการทำซ้ำ/เน้นย้ำ เพื่อให้ผู้เรียนมุ่งความสนใจไปในเนื้อหาที่เราจะสอนแล้ว ก็ควรจะทำเนื้อหาการสอนให้น่าสนใจด้วยค่ะ 

โอ้ย พูดง่าย แต่ทำยาก แน่นอน!!!

พอกลับมาบ้าน วันนี้เจอบทความออนไลน์ของ The MATTER เกี่ยวกับการเรียนภาษาที่ 2 ด้วยค่ะ
สรุปมาน่าสนใจดี จิ้มโลด → https://thematter.co/byte/tips-for-picking-up-a-new-lingo/17331

Illustrated by Manaporn Srisudthayanon via The MATTER

✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨✨

My New ME👩

จากคราวที่แล้วนู้นนนนนนนน...ที่ให้พูด自己紹介ในห้อง

มาดูกันซิว่า...Amy ver2.0 จะมีการพัฒนาบ้างมั้ย???
皆さん、こんにちは。マナッサウィーです。タイから来ました。マナッサウィーとはちょっと呼びにくかったら、私の英語の名前「エイミー」と呼んでください。私が研究している分野は日本現代文学です。特に、村上春樹の作品です。今研究しているテーマは村上春樹の作品の中の「仮構世界」についてです。まあ、主人公はどうやって作品中の仮構世界から脱出してきたかを研究しています。ストレス溜まった時に、私は全然勉強とは関係ないことをやることです。例えば、海までドライブに行くこととか、エクストリーム・スポーツをやること、ジェットスキーとか、パラセーリングとかをやっています。皆さん、興味があったら、私に話しかけてください。どうぞよろしくお願いいたします。
เมื่อเทียบกับอันเก่า
皆さん、こんにちは。マナッサウィーです。私の研究している分野は現代文学の村上春樹の作品です。作品『1Q84』について、作品の中の仮構世界構造や世界の条件を研究しています。ストレス溜まった時に、好きなバンドの音楽を聴くことと、勉強とは全然関係ないことをやることです。例えば、ジェットスキー乗ることやドライブすることです。よろしくお願いします。

จุดที่ของใหม่ดีกว่าของเก่า
 →ได้พูดอะไรที่ตกหล่นไปคราวที่แล้วเช่น เรื่องชื่อ ว่าถ้าเรียกยาก ก็เรียกชื่อภาษาอังกฤษแทนนะ เป็นการซื้อเวลาย้ำชื่อไปในตัวด้วย
→อธิบายงานวิจัยเราให้มันเป็นภาษาปากและเห็นภาพมากขึ้น เพราะจากอันเก่าบอกว่า วิจัยเรื่องโครงสร้างและเงื่อนไขของโลกสมมติในงานวรรณกรรมของมุระคะมิ คนอาจจะงง อันใหม่ก็อธิบายได้ดีกว่า(รึเปล่า?)ว่า เจ้าโครงสร้างและเงื่อนไขของโลกสมมติที่เราวิจัยเนี่ย เราวิเคราะห์จากที่ว่าตัวละครหลุดออกมาจากโลกสมมติได้อย่างไร (เข้าใจขึ้นไหมไม่รู้555)
→มีประโยคผูกจบเชิญชวน ไม่จบห้วนๆ

จุดที่ของเก่าดีกว่าของใหม่
→ประโยคกระชับ ได้ใจความ
→บอกชื่อผลงานวรรณกรรมที่เราวิจัยอยู่ชัดเจน คือ 『1Q84』
→ตอนพูด ฟังแล้วดูใจเย็นกว่า เพราะตั้งสติและมีเวลาเตรียมตัวก่อน ของใหม่คือเสียงแปร๋นมาก😆

สรุป
มีทั้งดีขึ้น(?) และเลวลง โดยธรรมชาติเป็นคนที่พูดไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว จนต้องมีเพื่อนสนิทที่เป็นエイミー語通訳 ก็ประเมินให้ตัวเองย่ำอยู่กับที่แบบจมโคลนยกเท้าก้าวเดินไม่ขึ้นแล้วกันค่ะ ㅠ_____ㅠ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ รู้จักตนเองให้มากขึ้น รู้จักการผูกเรื่องของตนเองอาจจะกระจัดกระจาย มาจัดเป็นcategoryให้มันอ่านง่ายขึ้น รู้จุดแข็ง สำหรับเราเราว่าเราเป็นคนไม่น่าเบื่อ มีสตอรี่นู่นนี่ให้เล่าเยอะดี และรู้จุดอ่อน คือถ้าให้พูดแบบimpromptuจะมีอาการเอ่ออ่า พูดวน ถ้าให้เขียนก็อาจจะมีประโยคที่อ่านแล้วงงๆบ้าง เพราะประโยคไม่กระชับ (ก็คือย้วย นั่นแหละ) ตอนไปแลกเปลี่ยน มีอาจารย์ชาวญี่ปุ่นท่านนึงบอกไว้ว่า เมื่อเธอผ่านN1 หรือได้มาเรียนแบบ生教材แล้ว การเรียนรู้จะเป็นแบบ青天井 ต้องใฝ่หาความรู้ตลอด ไม่มีสิ้นสุด จะเรียกว่าเป็น N0 ก็ได้ ที่ไม่มีใบรับรองแต่ต้องขวนขวายเอง

จุดนี้..ถึงไม่ได้ชื่อทาเคชิ ก็จะสู้ต่อไปค่ะ!(มุกเก่ามาก ขออภัย)

ขอปิดท้ายเอนทรีด้วยเพลงนี้แล้วกันค่ะ คิดว่าน่าจะโดนใจใครหลายคน เพราะใครๆก็เป็นแบบนี้เหมือนกันทั้งนะ แต่ต้องไม่ลืมความพยายามก้าวเดินต่อแล้วกันนะคะ🚶

💪頑張れ💪

🎶「才能あるよ」ー在日ファンク



コメント

  1. ส่วนมากจะดีขึ้นไหม เนื้อหามากขึ้น
    ชอบที่จะมีเพลงตบท้ายทุกครั้ง
    เขียนได้ละเอียดดีมากค่ะ รวมทั้งเรื่องที่พูดในห้องด้วย

    返信削除

コメントを投稿

このブログの人気の投稿

Homeworkあいづち+สิ่งทีคิดได้ยามป่วย(เป็นโรคกระเพาะ)

第11回:Merrill Swain's Comprehensible Output (CO)

イントロ&エントリーNo.①:ゲゲゲの女房